ไขข้อข้องใจองค์ประกอบของสไลเดอร์สวนน้ำมีอะไรบ้าง สไลเดอร์ไฟเบอร์

ไขข้อข้องใจองค์ประกอบของสไลเดอร์สวนน้ำมีอะไรบ้าง

ไขข้อข้องใจองค์ประกอบของสไลเดอร์สวนน้ำมีอะไรบ้าง

สไลเดอร์ไฟเบอร์กลาส สไลเดอร์มีหลายแบบ สไลเดอร์แบบโค้ง สไลเดอร์แบบยาว

ไขข้อข้องใจองค์ประกอบของสไลเดอร์สวนน้ำมีอะไรบ้าง ฐานไฟเบอร์มีคำตอบ (ตอนที่ 2) จากครั้งที่แล้วทราบถึงกระบวนการผลิตสไลเดอร์สวนน้ำ ส่วนประกอบของสไลเดอร์สวนน้ำ โครงสร้างของสไลเดอร์ รวมไปถึงการติดตั้งกันแล้วนะคะ ในครั้งนี้เราจะมาทำความรู้จักกับระบบไฟฟ้า ระบบปั๊มน้ำ และระบบเคมีในสระว่ายน้ำ ซึ่งเป็นระบบที่มีความสำคัญในการติดตั้งสไลเดอร์สวนน้ำมาก ๆ เลย แล้วระบบพวกนี้จะมีความสำคัญอย่างไร มาดูกันเลยค่ะ

ระบบป้องกันไฟฟ้าช็อค

ระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร มีหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าทันทีที่ตรวจพบว่า มีการลดัวงจรหรือรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับเครื่องเล่นสไลเดอร์ เนื่องจากเป็นเครื่องเล่นที่มีน้ำ เป็นส่วนประกอบ ระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรแบ่งเป็นสองประเภท ดังนี้

  1. Residiul Current Breaker With Overload Protection : RCBO

เป็นเบรกเกอร์ที่ใช้สำหรับป้องกันไฟรั่ว ไฟดูดจากการเกิดไฟฟ้ากระแสลัดวงจร รวมถึงกระแสเกินพิกัด มีหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เมื่อเกิดกระแสไฟรั่วและไฟดูดตามพิกัดที่ตั้งไว้ ซึ่งทำให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน หรือผู้เล่นเครื่องเล่นสไลเดอร์สวนน้ำนั่นเอง

  1. Earth Leakage Circuit Breaker : ELCB

เป็นเบรกเกอร์ที่ทำหน้าที่ตัดหรือปลดวงจรไฟฟ้าลงโดยอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินจนถึงค่าที่ตรวจจับได้ และยังสามารถปลดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้อีกด้วย แต่เบรกเกอร์ ELCB จะไม่สามารถปลดวงจรไฟฟ้าออกได้เอง ซึ่งในกรณีที่ใช้กระแสไฟฟ้าเกินกว่าพิกัดที่ระบุไว้ ดังนั้น การเลือกใช้ระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร จะต้องเลือกให้เหมาะสมแก่การใช้งาน และประเภทของระบบไฟฟ้าของเครื่องเล่นนั้น ๆ ดังนั้นจึงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจสอบ และติดตั้งเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

ระบบไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าสำรอง

ในส่วนของระบบไฟฟ้าและไฟฟ้าสำรองนี้ มีความสำคัญต่อเครื่องเล่นสไลเดอร์สวนน้ำเป็นอย่างมาก เนื่องจากมอเตอร์ที่ใช้ปั๊มน้ำ ต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงาน หากไฟฟ้าเกิดขัดข้องจนมอเตอร์หยุดทำงาน จะทำน้ำในรางสไลเดอร์ลดน้อยลงหรือไม่มีน้ำอยู่ในรางสไลเดอร์เลย ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้เล่นที่อยู่บนรางสไลเดอร์เป็นอย่างมาก โดยอาจเกิดการติดค้างอยู่บนรางสไลเดอร์ได้ หรือก่อให้เกิดการเสียดสีระหว่างรางสไลเดอร์กับผิวหนังของคนได้ ด้วยเหตุนี้เอง เครื่องเล่นสไลเดอร์ทุกเครื่องเล่น จึงจำเป็นต้องมีระบบไฟฟ้าสำรองเอาไว้ในกรณีที่เกิดไฟฟ้าขัดข้อง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นบนรางสไลเดอร์ นั่นเอง ระบบสำรองไฟฟ้าของเครื่องเล่นสไลเดอร์ โดยทั่วไป มี 2 ประเภทด้วยกัน คือ เครื่องสำรองไฟ (UPS) และ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)j

  1. เครื่องสำรองไฟฟ้า (Uninterruptable Power Supply : UPS)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อจ่ายไฟฟ้าสำรอง จากแบตเตอรี่ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ ซึ่งมักจะใช้สำรองไฟ เพื่อรอให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ทำงานจนสามารถจ่ายไฟให้กับระบบได้ก่อน โดยที่UPS จะมีอยู่ 3 ประเภท คือ

  • Off Line UPS มีสมบัติสำรองกระแสไฟฟ้า (ป้องกันไฟฟ้าดับ)ได้เพียงอย่างเดียว มีราคาถูก
  • Line Interactive UPS with Stabilizer มีสมบัติสำรองกระแสไฟฟ้า (ป้องกัน ไฟฟ้าดับ) และควบคุมแรงดนักระแสไฟฟ้า ในกรณีที่เกิดปัญหาไฟฟ้าดับไฟฟ้าตก พัฒนามาจากแบบแรก นิยมใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน ราคาปานกลาง
  • On Line UPS มีสมบัติสำรองกระแสไฟฟ้า (ป้องกันไฟฟ้าดับ) ควบคุมแรงดันกระแสไฟฟ้าในกรณีที่เกิดปัญหาไฟฟ้าตกหรือไฟฟ้าเกิน ถือว่า เป็น UPS ที่มีคุณภาพสูงกว่าชนิดอื่น มีการจ่ายกระแสไฟตลอดเวลา มีความเชื่อถือได้สูง ป้องกันสัญญาณรบกวนต่าง ๆ มีการออกแบบป้องกันการโหลดอย่างสมบูรณ์มีราคาสูงกว่า แบบอื่น ๆ
  1. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยการเหนี่ยวนำของแม่เหล็ก กล่าวคือ การเคลื่อนที่ของขดลวดตัวนำผ่านสนามแม่เหล็ก หรือการเคลื่อนที่แม่เหล็กผ่านขดลวดตัวนำ ซึ่งจะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นในขดลวดตัวนำ ซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามี 2 ชนิด คือ ชนิดกระแสตรงเรียกว่า ไดนาโม (Dynamo) และชนิดกระแสสลับเรียกว่า อัลเตอร์เนเตอร์ (Alternator) สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมนั้น จะเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ซึ่งมีทั้งแบบ 1 เฟส และแบบ 3 เฟสเครื่องกำเนิดแบบ 3 เฟสจะสามารถผลิตและจ่ายกำลังไฟฟ้าได้เป็นสามเท่าของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ 1 เฟส นั่นเอง

ระบบป้องกันฟ้าผ่า

เป็นอีกหนึ่งระบบที่มีความจำเป็นกับเครื่องเล่นสไลเดอร์เป็นอย่างมาก เพราะเครื่องเล่นสไลเดอร์ในสวนน้ำจะตั้งอยู่กลางแจ้งและมีความสูง จึงมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้าผ่า และก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้เล่นได้ โดยระบบป้องกันฟ้าผ่า ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ หัวล่อไฟฟ้า ตัวนำลงดิน และแท่งกราวนด์

  • หัวล่อฟ้า (Lightning Air-terminal) มีลักษณะเป็นหัวปลายแหลม ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งสูงสุดของอาคารหรือบริเวณนั้น หัวล่อฟ้าควรผลิตจากวัสดุที่ทนต่อการหลอมละลายได้ดี และจะต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3/8 นิ้ว
  • ตัวนำลงดิน (Down Conductor/Down Lead) จะต้องใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าได้ดี และความยาวของตัวนำลงดิน ระหว่างหัวล่อฟ้าและแท่งกราวนด์จะต้องสั้นที่สุดและตรงที่สุด เพื่อให้เกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้าได้ดีโดยจะต้องพิจารณาจากสภาพแวดล้อมในบริเวณนั้น ๆ ด้วย
  • แท่งกราวนด์ (Ground Rod) สามารถทำได้โดยใช้แท่งทองแดงปักลงไปในดิน จะทำหน้าที่ถ่ายเทประจุไฟฟ้าที่ผ่าลงมาให้ระบายกระแสไฟล์งยังพื้นดินได้อย่างรวดเร็วความต้านทานของแท่งกราวนด์กับดิน ควรมีค่าต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้

ทั้งนี้ในการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่านี้จะต้องเชื่อมต่อ 3 ส่วนข้างต้นเข้าด้วยกัน โดยการหลอมละลาย (Welding) เพื่อให้ความต้านทานไฟฟ้าของระบบมีค่าต่ำที่สุด เพื่อลดผลกระทบต่อตัวอาคารและระบบไฟฟ้า โดยการติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้า จะต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

ระบบปั๊มน้ำและกรองน้ำ

ในส่วนของระบบกรองน้ำและปั๊มน้ำ ประกอบไปด้วย สระว่ายน้ำ มอเตอร์ปั๊มน้ำ และส่วนกรองน้ำ ระบบจะทำงานโดยที่มอเตอร์ปั๊มน้ำจะดูดน้ำจากสระว่ายน้ำ แล้วผ่านน้ำเข้ายังส่วนกรองน้ำที่ประกอบไปด้วยชั้นทรายและชั้นกรวด เพื่อเป็นการกรองเศษหรือสิ่งแปลกปลอมออกจากน้ำ เนื่องจากหากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่รางสไลเดอร์ อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้เล่นได้ และเมื่อกรองสิ่งแปลกปลอมออกจากน้ำแล้ว ก็จะส่งน้ำไปยังส่วนบนสุดของหอปล่อยตัวผู้เล่น และปล่อยน้ำลงมาตามรางสไลเดอร์เข้าสู่สระน้ำแล้วทำการปั๊มน้ำหมุนเวียนเช่นนี้ต่อไป

ระบบเคมีในสระว่ายน้ำ

เนื่องจากเครื่องเล่นสไลเดอร์ เป็นเครื่องเล่นที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหนัก จึงจำเป็นต้องมีระบบเคมีเพื่อรักษาความสะอาดของน้ำ ระบบการฆ่าเชื้อโรคของน้ำในสระ ซึ่งในปัจจุบันนิยมในกัน 3 ระบบ ได้แก่

  • ระบบคลอรีน

การบำบัดน้ำในสระว่ายน้ำด้วยระบบคลอรีน ซึ่งเป็นระบบการฆ่าเชื้อโรคในน้ำที่ถูกที่สุด โดยส่วนมากที่นิยมใช้กันจะอยู่ในรูปแบบของเหลว เม็ดหรืออัดเป็นก้อน และเป็นผงคลอรีน วิธีใช้คือการค่อย ๆ ละลายลงในสระว่ายน้ำ และจะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ก็ต่อเมื่อน้ำในสระว่ายน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 7.2 – 7.8 ซึ่งหากค่า pH สูงหรือน้ำในสระว่ายน้ำมีค่าความด่างมาก ก็ต้องเติมกรดลงไปก่อน และถ้าน้ำในสระว่ายน้ำมีค่า pH ต่ำหรือน้ำในสระว่ายน้ำมีค่าความเป็นกรดสูง ก็ต้องเติมสารที่เป็นด่างจำพวก Buffer หรือ Soda ash เพื่อปรับค่า pH ในน้ำก่อน

ทั้งนี้ค่าความด่างที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากคราบเหงื่อและคราบไคลของผู้ที่ลงไปเล่นในสระว่ายน้ำ ฉะนั้นก่อนลงไปว่ายน้ำในสระว่ายน้ำ จึงจำเป็นต้องล้างตัวก่อนลงสระว่ายน้ำทุกครั้ง หรืออาจจะเกิดจากเศษใบไม้ใบหญ้า หรือฝุ่นละอองที่ลงไปสะสมอยู่ในสระว่ายน้ำ ก็สามารถทำให้น้ำในสระว่ายน้ำมีค่า pH ที่สูงได้เช่นกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการวัดค่า pH ของสระว่ายน้ำในทุก ๆ วัน ซึ่งในปัจจุบันก็มีเครื่องมือวัดค่า pH ที่ทำงานอัตโนมัติ สามารถจ่ายสารเคมีที่เป็นกรดหรือด่างลงในสระว่ายน้ำ เพื่อปรับค่า pH เพราะหากไม่มีการปรับค่า pH ก่อน ไม่ว่าเราจะใส่คลอรีนมากขนาดไหน คลอรีนที่ใส่ลงในสระว่ายน้ำก็จะไม่ทำงานและยังทำให้เกิดกลิ่นเหม็นคลอรีนเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

สำหรับข้อควรระวังในการใส่คลอรีนลงในสระว่ายน้ำ คือ คลอรีนเป็นสารที่อันตรายต่อร่างกาย และต้องใช้ความระมัดระวังในการดูแล เพราะคลอรีนเป็นสารเคมีที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและผิวหนังได้ เมื่อได้กลิ่นจะรู้สึกแสบจมูก หากเข้าตาจะต้องรีบล้างออกแล้วไปพบแพทย์ในทันที แต่ถ้าหากเราว่ายน้ำในสระว่ายน้ำที่เป็นระบบคลอรีนนาน ๆ ก็จะทำให้เส้นผมแห้งกรอบ ผิวหนังแห้งกร้านได้ แต่คลอรีนก็จำเป็นที่จะต้องใส่ในสระว่ายน้ำของเราทุกวัน เพราะคลอรีนจะช่วยในการย่อยสลายเศษผงใบไม้ คราบไคลและสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย และจะถูกทำลายด้วยรังสี UV ในแดด และความร้อน ดังนั้นในการดูแลสระว่ายน้ำด้วยระบบนี้ จึงนิยมใส่คลอรีนในเวลากลางคืน ช่วงที่ไม่มีคนเล่นน้ำในสระว่ายน้ำแล้ว เพื่อป้องกันการสิ้นเปลืองคลอรีนนั่นเอง

  • ระบบเกลือ

การบำบัดน้ำด้วยระบบเกลือ เรียกได้ว่าเป็นระบบฆ่าเชื้อโรคที่ดีที่สุด ซึ่งระบบนี้จะใช้น้ำเกลือธรรมชาติ (NaCl = Sodium Chloride) มาผ่านกระบวนการ Electrolytic Process ของเครื่อง Salt Chlorinator ทำให้เกิด Sodium Chloride (NaCl) ซึ่งเป็นเกลือธรรมชาติดั้งเดิม และน้ำเกลือเมื่อใช้ในการฆ่าเชื้อโรคแล้ว จะไม่สูญหายไปไหน แต่จะเติมก็ต่อเมื่อมีการทำ Back Wash หรือการล้างเครื่องกรอง หรือเมื่อฝนตกจนมีน้ำล้นออกมาจากสระว่ายน้ำถึงจะเติมเกลือ ฉะนั้นการเติมเกลือในสระว่ายน้ำจะเติมประมาณปีละ 2-3 ครั้ง ซึ่งน้ำเกลือจะมีความเข้มข้นเพียง 0.3 % เท่านั้น

  • ระบบโอโซน หรือ Ozone Treatment

เป็นระบบฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ โดยการก๊าซโอนโซน จากเครื่องอัดอากาศมาบำบัดน้ำในสระว่ายน้ำโดยตรง เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อน้ำในสระว่ายน้ำ โดยเป็นระบบบำบัดน้ำที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เพราะไม่มีสารตกค้างอยู่ในสระว่ายน้ำ แต่ระบบโอโซนนี้จะมีระยะเวลาในการฆ่าเชื้อโรคที่สั้นกว่าระบบคลอรีนและระบบเกลือ แต่จะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบที่แพงกว่าระบบอื่น ๆ

สำหรับใครที่กำลังมองหาผู้ผลิตสไลเดอร์สนามเด็กเล่นติดตั้งไว้ที่บ้าน สไลเดอร์สวนน้ำ สไลเดอร์สระ สไลเดอร์ตามสั่ง สามารถติดต่อเราได้ที่ 096.645.4987 ได้เลยค่ะ ฐานไฟเบอร์ยินดีให้บริการ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คู่มือการติดตั้ง การใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา และการปฏิบัติเพื่อตวามปลอดภัยของเครื่องเล่นสไลเดอร์น้ำ และกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหหาดไทย ด้วยนะคะ