สุริยาหีบศพ หีบศพ โลงศพ

เฮือนเย็น ประกอบพิธีกรรมแบบล้านนา

เฮือนเย็น ประกอบพิธีกรรมแบบล้านนา

 

สุริยาหีบศพ หีบศพ โลงศพ

เฮือนเย็น ประกอบพิธีกรรมแบบล้านนา ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนานั้น ก็มีความแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น วัฒนธรรม การใช้ชีวิตของแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ โดยพิธีกรรมส่วนมากจะเป็นการสืบต่อกันมาอย่างยาวนานจากรุ่นสู่รุ่น และยังคงความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมนั้นไว้อยู่ ถือว่าเป็นอีกความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา วันนี้แอดมินจะมาเสนอการจัดงานศพแบบชาวล้านนาก็เป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่นที่น่าสนใจไม่น้อย ขั้นตอนพิธีกรรมมีอะไรบ้างมาดูกัน

สุริยาหีบศพ หีบศพ โลงศพ

การจัดพิธีศพแบบชาวล้านนาที่เรียกว่าพิธี “เฮือนเย็น” ซึ่งถือว่าเป็นพิธีกรรมสำคัญ ที่ทุกคนในหมู่บ้านจะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดพิธีกรรมนี้ขึ้น โดยพิธีกรรมของชาวล้านนาจะมีการผสมผสานความเชื่อทั้งพุทธ ผี พราหมณ์ และไสยศาสตร์

เฮือนเย็น ที่เป็นภาษาถิ่นของชาวล้านนาให้ความหมายไว้ว่า เฮือนหรือเรือน คือบ้านที่มีคนตาย ส่วนคำว่าเย็น คือคำสะท้อนว่ามีความเยือกเย็นถึงหัวใจ เพราะการจากไปของบุคคลอันเป็นที่รัก ทำให้เกิดบรรยากาศเงียบเหงา โศกเศร้าจึงเกิดเป็นคำว่า “เฮือนเย็น” นั่นเอง

เมื่อมีคนป่วยในบ้านลูกหลานจะนิมนต์พระมาเทศน์เกี่ยวกับวิบากกรรม ถ้าคนที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังได้ฟัง เชื่อกันว่าถ้าพ้นวิบากกรรมและโรคจะจางหาย แต่ถ้ายังมีวิบากกรรมก็จะสิ้นใจด้วยความสงบไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน ซึ่งลูกหลานผู้ชายจะนำขันข้าวตอกดอกไม้ไปที่วัด เพื่อเป็นตัวแทนของผู้ป่วยขันแก้วทั้งสาม หมายถึงขอขมาพระรัตนตรัย แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของผู้ป่วย  เมื่อผู้ป่วยกำลังจะจากไปลูกหลานจะช่วยบอกทางว่า “ขอหื้อคึดหาของกินของทานเน่อ” ซึ่งหมายถึง ขอให้คิดถึงแต่บุญกุศล พระรัตนตรัย หรือกล่าวพุทโธ ๆ จนกระทั่งสิ้นใจนั่นเอง ภายหลังจากที่เสียชีวิตแล้วคนในชุมชนจะมาช่วยที่บ้านของผู้เสียชีวิต ทั้งการทำอาหาร การถางป่า และต้อนรับแขกในงาน

การบรรจุศพของชาวล้านนา จะมีปราสาทเรือนศพโดยชาวล้านนาจะนิยมเอาโลงศพไว้บนเรือน เพราะชาวล้านนาจะถือว่าผู้เสียชีวิตควรได้ไปอยู่ที่บ้านเรือนสวยงาม เมื่อทำพิธีศพที่ป่าช้าเสร็จจะกลับมาสวดมนต์ไหว้พระที่วัด หลังจากเผาศพเรียบร้อยแล้ว จะมีการเก็บอัฐิไปก่อเป็นเจดีย์ทรายริมแม่น้ำ ประดับด้วยดอกไม้ ตุง และนิมนต์พระมาสวดบังสุกุล เมื่อน้ำขึ้นก็จะพัดพาอัฐิลอยไปตามแม่น้ำ

การเคลื่อนโลงศพไปที่ป่าช้าเรียกว่า ปอยล้อ จะใช้ตุงสามหางนำขบวนที่ทำให้วิญญาณผู้ตายได้ไปสู่สวรรค์ เพราะเชื่อกันว่าตุงสามหางเหมือนดั่งธงในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อถือนำหน้าโลงศพไปสู่ป่าช้าก็เหมือนดั่งนำเอาดวงวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์นั่นเอง โดยคนที่ถือตุงจะสะพายย่ามใส่ข้าวด่วน สำหรับให้ผู้เสีย โดยการควักกระทงใบตองใส่เครื่องเซ่นขอผ่านทางตรงไปประตูเข้าหมู่บ้าน หรือทางสามแพร่งและจุดสำคัญต่าง ๆ โดยที่พระสงฆ์จะเป็นผู้นำขบวน ตามด้วยญาติ ปราสารทเรือนศพ ต่อด้วยล้อเกวียนดนตรีปี่พาทย์ เมื่อถึงป่าช้าก็เอาศพออกจากโลงศพ ใช้น้ำมะพร้าวล้างหน้าศพแล้วนำศพกลับใส่ลงไปในโลงศพอีกครั้ง จากนั้นทำพิธีบังสุกุล เดินเวียน 3 รอบ และทำการเผา

ภายหลังจากทำการฌาปนกิจผ่านไปได้ในระยะหนึ่งแล้ว ลูกหลานจะทำพิธี “ปอยข้าวสังฆ์” เพื่อเป็นการนึกถึงคุณความดีของผู้เสียชีวิต จะถือเป็นคุณธรรมและถือเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิต โดยพิธีปอยข้าวสังฆ์นี้จะมีการจัดอาหาร สิ่งของที่ผู้เสียชีวิตชอบ เช่น เสื้อผ้า ที่นอน ของใช้ ที่ เรียกว่า เฮือนตาน ในงานจะมีการละเล่น ดนตรี ขับซอ และจะนิมนต์พระมาบังสุกุล และนำเฮือนตานที่เตรียมไว้ถวายพระสงฆ์ แต่จะมีการทำพิธีบูชาคืน โดยเจ้าภาพจะถวายเงินซื้อหรือไถ่เอาของมาเก็บไว้ที่บ้าน ด้วยของส่วนใหญ่ไม่เหมาะกับพระสงฆ์อยู่แล้ว เว้นเสียแต่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค และเชื่อกันว่าพิธีปอยข้าวสังฆ์ถือว่าให้ผู้เสียชีวิตได้นำของไปใช้ในปรโลก โดยทำพิธีกรรมผ่านทางศาสนาอยู่ถูกต้องนั่นเอง

Suriya Coffin ยินดีให้บริการจัดงานศพแบบครบวงจร และสินค้าอื่น ๆ อีกมากมาย อาทิ หีบศพ โลงศพ ดอกไม้หน้าโลงศพ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมปรึกษาหรือสอบถามเกี่ยวกับการจัดงานศพหรือบริจาคโลงศพ ติดต่อสอบถามตลอด 24 ชม.ที่ www.suriyacoffin.com โทร 02-950-0989

ข้อมูลจาก : https://peacefuldeath.co