สุริยาหีบศพ หีบศพ โลงศพ

พิธีรดน้ำศพ

พิธีรดน้ำศพ

สุริยาหีบศพ หีบศพ โลงศพ

พิธีรดน้ำศพ หลังจากเกิดการเสียชีวิตแล้ว จะต้องดำเนินเรื่องขั้นตอนการขอใบมรณะบัตรหรือติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อดำเนินการเรื่องเอกสารเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ก็ทำการเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิตนำไปประกอบพิธีกรรมที่บ้านหรือวัดก็แล้วแต่ทางญาติพี่น้องจะสะดวก ขั้นตอนถัดไปที่จะทำขึ้นหลังจากเสียชีวิตเลยนั้นคือ การรดน้ำศพนั้นเอง

พิธีรดน้ำศพถือเป็นขั้นตอนแรกในพิธีงานศพไทย ซึ่งจะจัดขึ้นหลังจากผู้ล่วงลับนั้นเสียชีวิตก่อนนำร่างใส่โลงศพนั้นเอง โดยพิธีนี้ส่วนใหญ่มักจะเชิญแขกร่วมงานเป็นคนที่สนิทใกล้ชิด เพื่อนสนิท และบุคคลที่เคารพนับถือเท่านั้น เพื่อแสดงความเคารพและอาลัยต่อผู้ที่จากไป วันนี้แอดมินจะมาแนะนำขั้นตอนในการรดน้ำศพเพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมกันค่ะ

การอาบน้ำศพ ก่อนจะทำพิธีรดน้ำศพนั้น ทางญาติจะต้องทำการอาบน้ำชำระร่างกายของผู้เสียชีวิตให้สะอาด และเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ให้แก่ผู้เสียชีวิต เพราะมีความเชื่อว่าผู้ล่วงลับไปแล้วจะเดินทางไปสู่ภพภูมิอื่นได้อย่างสะอาดและบริสุทธิ์ โดยหน้าที่ให้การอาบน้ำศพนี้จะเป็นหน้าที่ของบุตร ธิดา หรือญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตเท่านั้น พิธีนี้ส่วนมากเชิญคนในครอบครัวเท่านั้น วิธีการอาบน้ำศพจะอาบด้วยน้ำอุ่นก่อนแล้วตามด้วยน้ำเย็น แล้วถูต่อด้วยสบู่ตามปกติขัดถูร่างกายให้สะอาด ทั้งนี้จะมีการอุดสำลีที่จมูก ปาก และหู เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเหลืองไหลออกมาและเป็นการป้องกันแมลงอีกด้วย เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วนั้นให้นำขมิ้นมาทาให้ทั่วบริเวณร่างกายตามด้วยการพรมน้ำหอม เมื่ออาบน้ำชำระร่างกายเสร็จแล้วให้สวมเสื้อผ้าให้เรียบร้อย หากเป็นข้าราชการให้แต่งเป็นเครื่องแบบชุดขาวเต็มยศ เมื่อแต่งตัวเสร็จให้นำศพขึ้นนอนบนเตียงสำหรับรอการรดน้ำศพต่อไป

สุริยาหีบศพ หีบศพ โลงศพ

Credit by: http://www.sadaocity.go.th/gallery_tab/gallery_detail/933

การตั้งเตียงสำหรับพิธีรดน้ำศพ ส่วนมากจะนิยมตั้งเตียงไว้ทางซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย จัดร่างผู้เสียชีวิตให้นอนหงายเหยียดยาว หันด้านขวามือของศพหรือด้านปลายเท้าของศพให้อยู่ทางแขกผู้ที่เข้าร่วมงาน พร้อมทั้งจัดมือขวาให้เหยียดออกห่างจากตัวศพเล็กน้อยและแบมือเหยียดออก เพื่อคอยรับการรดน้ำศพ และใช้ผ้าใหม่ๆ หรือผ้าแพรคลุมตลอดร่างศพนั้น แต่จะเปิดเฉพาะหน้าและมือขวาของศพเท่านั้น แต่หากเป็นศพที่ประสบอุบัติเหตุ อวัยวะฉีกขาดให้โยงสายสิญจน์จากร่างหรือโลงศพไปยังภาชนะรองรับการรดน้ำศพ แล้วประกอบพิธีรดน้ำที่สายสิญจน์นั้น โดยไม่ต้องเปิดผ้าคลุมศพ เมื่อประกอบพิธีส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีได้แก่ ขันน้ำพานรองขนาดใหญ่สำหรับตั้งไว้คอยรองรับน้ำที่รดมือศพแล้ว, น้ำมนต์ผสมน้ำสะอาด โรยด้วยดอกไม้หอมหรืออาจจะใช้น้ำอบ น้ำหอมผสมด้วย และขันเล็ก ๆ สำหรับตักน้ำยื่นให้แก่ผู้ที่มารดน้ำศพ ซึ่งในส่วนนี้ทางสุริยาหีบศพมีให้บริการอุปกรณ์รดน้ำศพด้วย

พิธีรดน้ำศพ ก่อนจะเริ่มพิธีนั้นส่วนมากจะนิยมให้เจ้าภาพหรือเชิญผู้มีอาวุโสมาเป็นประธานในพิธี เพื่อจุดเครื่องบูชาพระรัตนตรัย แล้วจุดเครื่องทองน้อยหรือธูปเทียนทางด้านศีรษะของศพ โดยทั่วไปแล้วพิธีนี้จะเริ่มในเวลา 16.00 – 17.00 น. ซึ่งเจ้าภาพ ญาติพี่น้องของผู้ล่วงลับจะทำการรดน้ำศพเสียก่อน จากนั้นจึงจะเชิญแขกผู้ร่วมงานที่เป็นคนใกล้ชิด โดยลูกหลานหรือบุคคลใกล้ชิดกับผู้ล่วงลับจะทำหน้าที่รับ-ส่งภาชนะรดน้ำศพให้กับแขกผู้ร่วมงาน ควรทำความเคารพศพก่อนแล้วจึงรดน้ำลงบนฝ่ามือขวาของศพที่ยื่นออกมา พร้อมทั้งกล่าวคำอาลัยหรืออโหสิกรรมให้กับผู้ล่วงลับ เมื่อพิธีรดน้ำเสร็จแล้วก็จะทำการนำร่างผู้เสียชีวิตใส่ในโลงศพ แล้วทำการจัดดอกไม้หน้าโลงศพ ในขั้นตอนต่อไป

หากท่านใดสนใจบริการหลังความตายที่ดูแลครอบครัวของท่านตั้งแต่เสียชีวิตถึงการส่งไปสู่ภพภูมิใหม่ สามารถเข้ามาดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ www.suriyafuneral.com หรือ ปรึกษาสอบถามเราได้ที่ 02-950-0989 ได้ตลอด 24 ชม.